“วิษณุ อรุณเมฆ และวรพล แสนจันทร์. (2566). ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติปีที่ 15 ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม 2566). หน้า 15(3), 241-254. “
ชื่อเรื่อง
ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในการเรียนออนไลน์ ของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
ผู้เขียน
วิษณุ อรุณเมฆ และวรพล แสนจันทร
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐาน
คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาพลศึกษา
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 7,803 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 คน จาก 17
วิทยาเขตทั่วประเทศ ซึ่งผู้วิจัยใช้การสุ่มอย่างง่ายภูมิภาคละ 2 วิทยาเขต รวมทุกภูมิภาคได้ 8 วิทยาเขต และ
กำหนดสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างให้เท่ากันได้วิทยาเขตละ 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ
แบบสอบถามความคิดเห็นต่อผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในการเรียน
ออนไลน์ของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ประกอบด้วย
6 ด้าน คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะและความสัมพันธ์ระหว่าง
บุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
และด้านวิธีวิทยาการจัดการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นต่อผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
แห่งชาติในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬา
แห่งชาติ รายด้าน และโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ความคิดเห็นต่อผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐาน
คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขา
พลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ระหว่างวิทยาเขตในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แตกต่าง
กับภาคกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05