15. บุญเรือน จันทร์แก้วและชนิตา ไกรเพชร (2567). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยกิจกรรมศิลปะ สำหรับผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. 16 (3),2024.หน้า……….(TCI1)

ชื่อเรื่อง

การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยศิลปะสำหรับผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผู้เขียน

บุญเรือน จันทร์แก้วและชนิตา ไกรเพชร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสุขภาพจิต
ด้วยศิลปะสำหรับผู้สูงอายุ 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยศิลปะสำหรับผู้สูงอายุ 3)
ทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยศิลปะสำหรับผู้สูงอายุ และ 4) ประเมินรูปแบบการ
ส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยศิลปะสำหรับผู้สูงอายุ โดยทำการศึกษากับผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ
สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ชมรม
ผู้สูงอายุเทศบาลตำบลทอนหงส์ ตำบลพรหมโลก ตำบลพรหมคีรี องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ
ตำบลทอนหงส์ ตำบลอินคีรี และตำบลนาเรียง ชมรมผู้สูงอายุชมรมๆ ละ 10 คน รวม 70 คน
โดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามความ
ต้องการจำเป็น แบบประเมินความเหมาะสมรูปแบบฯ แบบประเมินสุขภาพจิต แบบประเมินคุณภาพ
และความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบฯ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล ความต้องการจำเป็นทำการ
วิเคราะห์โดยวิธี Modified Priority Needs Index (PNI Modified) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1) ผู้สูงอายุมีความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยศิลปะที่จะต้องได้รับ
การพัฒนา ปรับปรุงและแก้ไข เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุอันดับ 1 คือ ด้านที่ 2 คุณภาพ
ชีวิตด้านจิตใจ รองลงมา คือ ด้านที่ 1 คุณภาพชีวิตทางร่างกาย ด้านที่ 6 การใช้ศิลปะในการพัฒนา
สุขภาพจิต ด้านที่ 4 คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม ด้านที่ 7 การมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านที่ 5
คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพโดยรวม และ ด้านที่ 3 คุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคม ตามลำดับ
และมีข้อเสนอแนะว่าเพิ่มเติมว่า 1) ต้องการสร้างงานศิลปะจากวัสดุที่มีในบ้านหรือในชุมชน ชิ้นงาน
ที่ได้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ และ ไม่ใช้เวลานาน และยากเกินไป
2) รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยศิลปะสำหรับผู้สูงอายุ “กิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริม
สุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุ” ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 พิมพ์สุข ปลอดสารพิษ
มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างสมาธิ ความอดทน ลดความเครียด ความว้าวุ่น ความวิตกกังวล
นอกจากนี้จะทำให้ได้สัมผัสกับธรรมชาติและสิ่งรอบตัว เป็นกิจกรรมที่มีกระบวนไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน

สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถหาได้จากท้องถิ่นและปลอดสารพิษ กิจกรรมที่ 2 ระบายสี
ระบายใจ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์ จิตนาการ ได้ใช้เวลาร่วมกัน
และแลกเปลี่ยนมุมมองในการสร้างงานศิลปะ รู้สึกผ่อนคลายกับการทำกิจกรรม และกิจกรรมที่ 3
ปะติด ปะต่อ กิจกรรมปะติด ปะต่อ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้กลุ่มผู้สูงอายุจะทำด้วยกัน เป็นการ
เสริมสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์และความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันระหว่างคนในชุมชน โดยจะ
เป็นกิจกรรมปะติดเศษผ้าที่เหลือใช้ในหัวข้อ “ชุมชนของฉัน” อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างสุขภาวะ
ทางด้านสังคมแก่ผู้สูงอายุ การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับผู้อื่น จะทำให้ลดความรู้สึกโดดเดี่ยว
เพิ่มการเห็นคุณค่าในตนเอง ทั้ง 3 กิจกรรมส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มีความสุข มีสมาธิ และเกิดความ
ภาคภูมิใจในผลงานที่ตนเองจัดทำขึ้น
3) ผลการประเมินรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยศิลปะสำหรับผู้สูงอายุ “กิจกรรม
ศิลปะเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ” มีคุณภาพตามมาตรฐานการประเมินทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับ
มากที่สุด แสดงว่ารูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้น มีประโยชน์ มีความเหมาะสม มีความถูกต้อง สามารถ
นำไปใช้ในการส่งเสริมสุขภาพจิตให้กับผู้สูงอายุได้จริง และมีความพึงพอใจโดยภาพรวม อยู่ในระดับ
มากที่สุด
4) ผลการประเมินสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมทดลองใช้รูปแบบฯ ก่อนและหลังการ
ทดลองใช้รูปแบบ ฯ พบว่า หลังทดลองใช้รูปแบบฯ ผู้สูงอายุทุกคนมีสุขภาพจิตดีกว่าก่อนทดลองใช้
รูปแบบฯ ทุกคน แสดงว่า กิจกรรมศิลปะสามารถส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุดีขึ้นได้จริง
The objectives of this research were to 1) study the essential needs for
promoting mental health through the arts for the elderly, 2) to develop a model for
promoting mental health through the arts for the elderly, 3) experimenting with a
model for promoting mental health through the arts for the elderly, and 4) evaluate
the model for promoting mental health through the arts for the elderly by community
participation. By conducting a study with the elderly people who are members of the
Elderly Club under the Local Administrative Organization (LAO) Prom Khiri District,
Nakon Si Thammarat Province such as Thon Hong Sub district Municipality Elderly Club,
Phrom Lhok, Phrom Khiri, Baan Koh Sub district Administrative Organization, Thon
Hong, In Khiri, and Nariang. The Elderly Club has 10 people, totaling 70 people by
Purposive Sampling. Research tools including, a mental health assessment form, a
quality assessment form, satisfaction with the model, and interview form, perform data
analysis requirements were analyzed by Modified Priority Needs Index (PNI modified),
percentage, mean and standard deviation.
The research results found that
1) Elderly people have an urgent need to promote mental health through
arts that must be developed, improvement and correction to promote mental health
for elderly. Number 1 aspect 2 mental quality of life followed by aspect 1 physical
quality of life, aspect 6 using arts to develop mental health, aspect 4 environmental

quality of life, aspect 7 community participation, aspect 5 overall health quality of life,
and aspect 3 social relationships quality of life. There are additional suggestions 1) to
create arts from materials found at home or in the community, work pieces that can
be used in daily life and it doesn’t take too long or too difficult.
2) A model for promoting mental health through arts for the elderly-“Artificial
Art Activities for Health for the Elderly” consists of 3 activities: Activity1: Pim Suk NonToxic, with the objectives to enhance concentration, patience, reduces stress,
distraction, and anxiety. In addition it will allow you to in touch with nature and
surroundings. The activity has a simple process not complicated, and uses various
materials that can be obtained from the tree and are non-toxic. Activity 2: Coloring
Rabai Jai, to allow participants to practice their creativity imagination, and spend time
together to exchange their views on creating also relaxes with activities. Activity 3: Patid
Pathor, the activity aims for senior groups to do and enhance their imagination
creativity together; it will be an activity of piecing together leftover fabric scraps on the
topic “My Community.” As well as promoting well-being social aspect for the elderly
participating in activities with others will reduce the feeling of loneliness and increasing
self-esteem. These 3 activities promote happiness for the elderly and to be proud of
their own work creation.
3) The evaluation results of a mental health promotion model through arts
for the elderly “Art activities to promote mental health of the elderly” has quality
according to the evaluation standards in all 4 areas at the highest. It shows that the
developed model is useful and appropriate; it is accurate and can be applied to the
elderly, and the overall satisfaction at the highest level.
4) The evaluation results of a mental health promotion there was an
assessment of the health of the elderly who participated in the trial before and after.
All the elderly were healthier than before. It shows that arts activities can actually
promote the mental health of the elderly.