วิทยา ปัทมะรางกูล และยุพาภรณ์ สิงห์ลำพอง. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาโดยใช้เทคนิคในการฟื้นฟูที่แตกต่างกัน. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา. ปีที่ 10. ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน). 89-102
ชื่อเรื่อง
การศึกษาเปรียบเทียบการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาโดยใช้เทคนิคในการฟื้นฟูที่แตกต่างกัน
ผู้เขียน
วิทยา ปัทมะรางกูล และ ยุพาภรณ์ สิงห์ลำพอง
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาโดย
ใช้เทคนิคในการฟื้นฟูที่แตกต่างกันประกอบไปด้วย การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายโดยใช้เทคนิคการนวด (Massage recovery) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายโดยใช้เทคนิคการแช่น้ําเย็น (Cold Water immersion recovery) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายโดยใช้เทคนิคการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching recovery) และ การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายโดยการนั่งพัก (Rest recovery) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลและนักกีฬา ฟุตซอลชายของสถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตสมุทรสาคร จํานวน 30 คน อายุ 19-22 ปี กลุ่มตัวอย่างจะได้รับ การปั่นจักรยานด้วยวิธีวินเกต (Wingate anaerobic cycling test) เต็มความสามารถ 30 วินาที จากนั้น จะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายทันทีโดยการสุ่มเพื่อเลือกวิธีการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย 4 วิธี ประกอบ ไปด้วย การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายโดยใช้เทคนิคการนวด การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายโดยใช้เทคนิคการ แช่น้ําเย็น การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายโดยใช้เทคนิคการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและ การฟื้นฟูสมรรถภาพทาง กายโดยการนั่งพัก ตัวแปรที่ศึกษาในครั้งนี้คือ ความเข้มข้นของกรดแลคติก (Lactic acid) ผลการวิจัยพบว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายทั้ง 4 วิธี ช่วยลดความเข้มข้นของระดับกรดแลคติกในเลือดภายหลังเปรียบเทียบ กับการปั่นจักรยานที่ความหนักสูงทันที เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายโดย ใช้เทคนิคการนวดช่วยลดความเข้มข้นของระดับกรดแลคติกในเลือดได้เร็วกว่าทั้ง 3 วิธี และพบว่าการฟื้นฟู
สมรรถภาพทางกายโดยใช้เทคนิคการแช่น้ําเย็นการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายโดยใช้เทคนิคการยืดเหยียด กล้ามเนื้อช่วยลดความเข้มข้นของระดับ กรดแลคติกในเลือดได้เร็วกว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายโดยการ นั่งพักอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างของการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายโดยใช้เทคนิคการแช่น้ําเย็นกับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายโดยใช้เทคนิคการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ผลการวิจัยครั้งนี้ เสนอว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายโดยใช้เทคนิคการนวดมีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภายหลังจากการแข่งขันได้ดีที่สุด