ยุวลักษณ์ เส้งหวาน, กฤษณา สงวนจีน, ทัศนีย์ สระทองคำ และพิจิตร กมลโชติ. (2560). การศึกษาความเข้าใจการใช้ภาษาเฉพาะในเกมกีฬาของนักศึกษา สถาบันการพลศึกษา. การประชุมวิชาการด้านประกันคุณภาพการศึกษา ระดับชาติ ครั้งที่ 1 เครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับสถาบันการศึกษา ภูมิภาคตะวันตก 8 ธันวาคม 2560 ณ สำนักงานส่งเสริมและฝึกอบรมกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม, หน้า 60-61.
ชื่อเรื่อง
การศึกษาความเข้าใจการใช้ภาษาเฉพาะในเกมกีฬาของนักศึกษา สถาบันการพลศึกษา
ผู้เขียน
ยุวลักษณ์ เส้งหวาน, กฤษณา สงวนจีน, ทัศนีย์ สระทองคำ และพิจิตร กมลโชติ
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การศึกษาความเข้าใจการใช้ภาษาเฉพาะในเกมกีฬาของนักศึกษาสถาบัน การพลศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้ภาษาในเกมกีฬาของนักศึกษาสาขาวิชา สื่อสารการกีฬา สถาบันการพลศึกษา 2) ศึกษาทัศนคติในภาษาที่ใช้ในเกมกีฬาของนักศึกษาสาขาวิชา สื่อสารการกีฬา สถาบันการพลศึกษา 3) ศึกษาความเข้าใจภาษาที่ใช้ในเกมกีฬาของนักศึกษาสาขาวิชา สื่อสารการกีฬา สถาบันการพลศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษา สาขาวิชาสื่อสารการ กีฬา วิทยาเขตกรุงเทพ วิทยาเขตชัยภูมิ วิทยาเขตเพชรบูรณ์ วิทยาเขตสุพรรณบุรี วิทยาเขตสมุทรสาคร, และวิทยาเขตอุดรธานี จํานวน 263 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ชนิดกีฬาที่นักศึกษามีความถนัดและให้ความสนใจในการรับชมหรือเคยเข้า ร่วมการแข่งขันคือกีฬาฟุตบอล เข้าใจอยู่ในระดับมาก ทัศนคติในภาษาที่ใช้ในเกมกีฬาพบว่ามีทัศนคติต่อภาษาที่ใช้ในเกมกีฬาอยู่ใน ระดับมาก ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในเกมกีฬาประเภทบุคคลพบว่ามีความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาที่ใช้ ในเกมกีฬาประเภทบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแต่ละวิทยาเขตพบว่า วิทยาเขตกรุงเทพ : วิทยาเขตเพชรบูรณ์ วิทยาเขตสมุทรสาคร วิทยาเขตชัยภูมิมีความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในเกมกีฬา ประเภทบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง วิทยาเขตอุดรธานีและวิทยาเขตสุพรรณบุรี มีความเข้าใจเกี่ยวกับ ภาษาที่ใช้ในเกมกีฬาประเภทบุคคลอยู่ในระดับน้อย ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในเกมกีฬาประเภท บุคคลในกีฬามวยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และ