ธิติพงษ์ สุขดี, ทรงพล ต่อนี และชนิตา ไกรเพชร. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการดำเนินงานประกันคุณภาพหลักสูตรสาขาวิชาพลศึกษา ในระดับปริญญาตรี. ในการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 (น.326). นครศรีธรรมราช: วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.

ชื่อเรื่อง

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการดำเนินงานประกันคุณภาพหลักสูตรสาขาวิชาพลศึกษา ในระดับปริญญาตรี

ผู้เขียน

ธิติพงษ์ สุขดี, ทรงพล ต่อนี และ ชนิตา ไกรเพชร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการตรวจสอบคุณภาพความเหมาะสมของตัวบ่งชี้ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ประจํา หลักสูตรและคณาจารย์ผู้สอนสถาบันการศึกษาที่เปิดหลักสูตรสาขาวิชาพลศึกษา ระดับปริญญาตรี จํานวน 576 คน ได้มาจาก การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยวิธี Maximum Likelihood (ML) สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของตัวบ่งชี้กับข้อมูลเชิงประจักษ์คือ
ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ ดัชนี GFI ดัชนี AGFI และค่า RMSEA
ผลการวิจัยพบว่า ความสําเร็จในการดําเนินงานประกันคุณภาพหลักสูตรสาขาวิชาพลศึกษา ในระดับปริญญาตรี ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบและ 57 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ (1) ระบบกลไกการบริหารหลักสูตร 17 ตัวบ่งชี้ (2) คุณภาพอาจารย์ ประจํา 14 ตัวบ่งชี้ (3) การจัดการเรียนรู้และการประเมินผลผู้เรียน14 ตัวบ่งชี้ และ (4) การส่งเสริมพัฒนาศักยภาพนิสิต 12 ตัวบ่งชี้ การตรวจสอบคุณภาพความเหมาะสมของตัวบ่งชี้ ความสําเร็จในการดําเนินงานประกันคุณภาพหลักสูตรของ สาขาวิชาพลศึกษา ในระดับปริญญาตรี โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ดี ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์มีค่าเท่ากับ 1.08 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน มีค่าเท่ากับ 91 ค่าดัชนีวัดระดับ ความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว มีค่าเท่ากับ 90 และ ค่า RMSEA มีค่าเท่ากับ .01