ภัทร์ธิรา บุญเสริมส่ง , ชยกร ปวรทวีสุข. (2563). การศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ครั้งที่ 5 25 กันยายน 2563 (น. 579 – 584). กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ชื่อเรื่อง

การศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์

ผู้เขียน

ภัทร์ธิรา บุญเสริมส่ง , ชยกร ปวรทวีสุข

บทคัดย่อ

“ในยุคประเทศไทย 4.0 ระบบสารสนเทศ พัฒนารวดเร็ว ซึ่งโทรศัพท์มือถือ เป็นอุปกรณ์หนึ่งซึ่งใช้เป็น สื่อคอมพิวเตอร์ สามารถหาข้อมูล ข่าวสาร วีดีโอ เกม ฯลฯ ซึ่งนักศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร มีการใช้อย่างมาก ถ้าขาดความรู้เท่าทันในการใช้งาน ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสํารวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร โดยจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน
0.67) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาใช้โทรศัพท์เพื่อเล่นเกมออนไลน์ เกี่ยวกับการเน้นการจําลองสถานการณ์ที่เสมือน จริง อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.6, S.D. = 0.49), ด้านการบังคับ และตัดสินใจภายในเกมรวดเร็ว อยู่ในระดับมาก (X = 4.50, S.D.= 0.67) ด้านการเล่นเกมออนไลน์ เพื่อทําให้ได้เอาชนะผู้อื่นได้ อยู่ในระดับมาก (X = 4.50, S.D. = ด้านนักศึกษาถูกตําหนิเรื่องเล่นเกมออนไลน์อยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.6, S.D. = 1.20), นักศึกษารู้สึกอึดอัด ใจเวลาที่ผู้ปกครองเปรียบเทียบกับคนอื่นที่ไม่เล่นเกมออนไลน์อยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.7, S.D. = 1.27), นักศึกษา คิดว่า การเล่นเกมออนไลน์มีผลกระทบต่อสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.8, SD = 1.47), ด้านผู้ปกครองเตือน นักศึกษาไม่ให้เล่นเกมออนไลน์ อยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.1, SD = 1.52), ด้านนักศึกษาคิดว่าให้เวลากับเกม ออนไลน์มากที่สุดกว่ากิจกรรมอื่นอยู่ในระดับน้อย (X = 1.9, S.D. = 0.95), ด้านนักศึกษารู้สึกไม่สบายใจเมื่อไม่ได้เล่น เกมออนไลน์อยู่ในระดับน้อย (X = 1.9, S.D. = 1.22) ด้านนักศึกษามีพฤติกรรมต่างไปจากเดิมเมื่อเล่นเกมออนไลน์ อยู่ ในระดับน้อย ( X = 1.7, S.D. = 1.19)”