ไวพจน์ จันทร์เสม. (2563). การเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึกความอดทนแบบแอนแอโรบิกต่อการพัฒนาสมรรถนะของระบบพลังงานและสมรรถนะของกล้ามเนื้อของฝีพายเรื่อยาวประเพณี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา, 20 (2), 81-95.
ชื่อเรื่อง
การเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึกความอดทนแบบแอนแอโรบิกต่อการพัฒนาสมรรถนะของระบบพลังงานและสมรรถนะของกล้ามเนื้อของฝีพายเรื่อยาวประเพณี
ผู้เขียน
ไวพจน์ จันทร์เสม
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึกความอดทนแบบแอนแอโรบิกในอัตราส่วนเวลาฝึกกับเวลาพักแตกต่างกันที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะของระบบพลังงานและสมรรถนะของกล้ามเนื้อของฝีพายเรือ ยาวประเพณี กลุ่มตัวอย่างเป็นฝีพายจํานวน 30 คน อายุ 15-18 ปี ที่เข้าร่วมการแข่งขันเรือยาวประเพณีจังหวัดสมุทรสาคร ทําการฝึกตามโปรแกรมการฝึกแบบความอดทนแบบแอนแอโรบิก โดยกลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกในอัตราส่วนเวลาฝึกกับเวลาพัก 1:2 กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกในอัตราส่วนเวลาฝึกกับเวลาพัก 1:3 และกลุ่มทดลองที่ 3 ฝึกในอัตราส่วนเวลาฝึกกับเวลาพัก 1:4 จํานวน 15 เที่ยว ทําการฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ทําการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบ ค่าที ทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว ของตัวแปรด้านสมรรถนะของระบบพลังงาน ได้แก่ ความสามารถสูงสุดแบบ แอนแอโรบิก พลังแบบแอนแอโรบิก และความสามารถแบบแอโรบิก ตัวแปรด้านสมรรถนะของกล้ามเนื้อ ได้แก่ ความ แข็งแรงของกล้ามเนื้อบีบมือ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดขา และความอดทนของกล้ามเนื้อท้อง ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองที่ 1 มีค่าเฉลี่ยของความสามารถทางแอโรบิก หลังการทดลองมากกว่าก่อนการ ทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มทดลองที่ 2 มีค่าเฉลี่ยของความสามารถทางแอโรบิกและความ แข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดขา หลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่ม ทดลองที่ 3 มีค่าเฉลี่ยของความสามารถทางแอโรบิก และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดขา หลังการทดลองมากกว่า ก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่ม มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดขา และความอดทนของกล้ามเนื้อท้อง หลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึง ทําการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีการทดสอบของ Bonferroni พบว่า กลุ่มทดลองที่ 3 มี ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขามากกว่ากลุ่มทดลองที่ 1 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุปการวิจัย การฝึกตามโปรแกรมการฝึกแบบความอดทนแบบแอนแอโรบิกที่มีอัตราส่วนเวลาฝึกกับเวลาพัก 1:2 1:3 และ 1:4 สามารถพัฒนาความสามารถแบบแอโรบิก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดขาและความอดทนของ กล้ามเนื้อท้องได้