ไวพจน์ จันทร์เสม และยุพาภรณ์ สิงห์ลำพอง (2564). การเปรียบเทียบผลของการฝึกแบกโอลิมปิกบาร์เบลกระโดดและถือบาร์เบลหกเหลี่ยมกระโดดที่มีต่อพลังสูงสุด แรงสูงสุดและความเร็วสูงสุด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา, 21 (1), 45 – 57.

ชื่อเรื่อง

การเปรียบเทียบผลของการฝึกแบกโอลิมปิกบาร์เบลกระโดดและถือบาร์เบลหกเหลี่ยมกระโดดที่มีต่อพลังสูงสุด แรงสูงสุดและความเร็วสูงสุด

ผู้เขียน

ไวพจน์ จันทร์เสม และ ยุพาภรณ์ สิงห์ลำพอง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกแบกโอลิมปิกบาร์เบลกระโดดและถือ บาร์เบลหกเหลี่ยมกระโดดที่มีต่อพลังสูงสุด แรงสูงสุดและความเร็วสูงสุด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาของมหาวิทยาลัยการ กีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสมุทรสาคร แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 9 คน ฝึกตามโปรแกรมการฝึกแบกโอลิมปิกบาร์เบลกระโดด โปรแกรมการฝึกถือบาร์เบลหกเหลี่ยมกระโดดและโปรแกรมการฝึกกีฬาตามปกติ ทําการฝึก 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ผลการวิจัย จากการทดสอบท่าแบกบาร์เบลกระโดดแสดงให้เห็นว่ามีการพัฒนาค่าเฉลี่ยของพลังสูงสุด แรง ปฏิกิริยาจากพื้นในแนวดิ่งสูงสุด และความเร็วของบาร์เบลสูงสุดในกลุ่มฝึกแบกโอลิมปิกบาร์เบลกระโดด อย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่กลุ่มฝึกถือบาร์เบลหกเหลี่ยมกระโดด สามารถช่วยพัฒนาค่าเฉลี่ยของพลังสูงสุด พลัง เฉลี่ย ความเร็วของบาร์เบลสูงสุด และความเร็วของบาร์เบลเฉลี่ย อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการทดสอบ ท่าถือบาร์เบลกระโดด แสดงให้เห็นว่ามีการพัฒนาค่าเฉลี่ยของแรงปฏิกิริยาจากพื้นในแนวดิ่งสูงสุด และแรงปฏิกิริยาจาก พื้นในแนวดิ่งเฉลี่ยในกลุ่มฝึกแบกโอลิมปิกบาร์เบลกระโดด อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนกลุ่มฝึกถือบาร์เบล หกเหลี่ยมกระโดดสามารถพัฒนาค่าเฉลี่ยของพลังสูงสุด ความเร็วของบาร์เบลสูงสุดและความเร็วของบาร์เบลเฉลี่ยอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขณะที่กลุ่มฝึกแบกโอลิมปิกบาร์เบลกระโดดและกลุ่มฝึกถือบาร์เบลหกเหลี่ยมกระโดดมีผล ต่อพลังสูงสุด แรงสูงสุดและความเร็วสูงสุดไม่แตกต่างกัน สรุปผลการวิจัย การฝึกถือบาร์เบลหกเหลี่ยมกระโดด สามารถพัฒนาพลังสูงสุด ความเร็วของบาร์เบลสูงสุดและ ความเร็วของบาร์เบลเฉลี่ย และการฝึกแบกโอลิมปิกบาร์เบลกระโดด สามารถพัฒนาแรงปฏิกิริยาจากพื้นในแนวดิ่งได้