กรวรรณ กฤตวรกาญจน์, สุธิชา ภิรมย์นุ่ม, พีรวิชญ์ คำเจริญ และ ขญานิธิ แบร์ดี้ (2565). ประสิทธิผลการสื่อสาร เพื่อการถ่ายทอดความรู้คุณประโยชน์ “สนามเด็กเล่น สร้างปัญญา” เพื่อการพัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการรับรู้และการให้ความร่วมมือจากชุมชน. วารสารการสื่อสารมวลชน คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 : มกราคม -มิถุนายน 2565. เผยแพร่เมื่อ 30 มิถุนายน 2565. หน้า 204 – 234

ชื่อเรื่อง

ประสิทธิผลการสื่อสาร เพื่อการถ่ายทอดความรู้คุณประโยชน์ “สนามเด็กเล่น สร้างปัญญา” เพื่อการพัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการรับรู้และการให้ความร่วมมือจากชุมชน

ผู้เขียน

กรวรรณ กฤตวรกาญจน์, สุธิชา ภิรมย์นุ่ม, พีรวิชญ์ คำเจริญ และ ขญานิธิ แบร์ดี้

บทคัดย่อ

“การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการสื่อสารในการถ่ายทอดความรู้ และคุณประโยชน์ “สนามเด็กเล่น สร้างปัญญา” ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2. เพื่อศึกษาการรับรู้ถึงประโยชน์และการให้ความร่วมมือในการสร้าง “สนามเด็กเล่น สร้างปัญญา” ของประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธี สํารวจด้วยวิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มประชาชน ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่การควบคุมดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการจัดทําโครงการ “สนามเด็กเล่น สร้างปัญญา” ที่ได้รับการจัดตั้งเป็นศูนย์ ฝึกอบรมด้านการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กปฐมวัยขององค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้งหมด 13 พื้นที่ รวม 455 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ได้รับความรู้เรื่องคุณประโยชน์ “สนามเด็กเล่น สร้างปัญญา”” จากนายกเทศมนตรี/ นายกองค์การบริหารส่วนตําบล จากการประชุมของแกนนําหมู่บ้าน มากที่สุด และ 1 มีการนํามาพูดคุยกับคนในชุมชนกันบ่อย ๆ เมื่อได้พบปะกัน ส่วนข้อมูลที่คนในชุมชน รับรู้มากที่สุดคือ “สนามเด็กเล่น สร้างปัญญา” คือ ห้องเรียนนอกโรงเรียนที่สร้างเด็ก ให้เป็นคนดีง่าย ๆ จากการเล่นอย่างธรรมชาติ ดีกว่าเล่นกับของเล่นจากร้านค้า ด้านการรับรู้และความเข้าใจของชุมชนเรื่องคุณประโยชน์ของ “สนามเด็กเล่น สร้างปัญญา” ที่คนในชุมชนรับรู้มากที่สุด คือ สนามเด็กเล่นมีประโยชน์เพราะการเล่น สามารถสร้างสุข สร้างอิสระทางความคิดที่เป็นธรรมชาติ เด็กสนุกเพลิน มีจิตใจ ที่เป็นสุข ด้านการนําความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการไปปรับใช้หรือพัฒนาการ ปฏิบัติงาน ประชาชนได้นําความรู้ที่ได้รับไปสู่การปฏิบัติ/นําไปใช้ประโยชน์ มีการนําความรู้จากเทศบาล ไปเผยแพร่และดําเนินการต่อ และมีความพยายาม นําความรู้ที่ได้มาพัฒนาสนามเด็กเล่นต่อไปเรื่อย ๆ ด้านการให้ความร่วมมือในฐานะ สมาชิกของชุมชน ชุมชนยินดีให้ความร่วมมือด้วยการใช้แรงลงแขกก่อสร้างตามที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งความประสงค์ ด้านการมีส่วนร่วมส่วนบุคคล พบว่า ยินดีให้สนับสนุนการสร้างสนามเด็กเล่น การเรียนนอกห้องเรียนที่ให้ความสําคัญของการเล่นด้วยการส่งลูกหลานเข้าเรียนที่ศูนย์เด็กเล็กในชุมชน ด้านพฤติกรรมต่อ การใช้สนามเด็กเล่น พบว่า กิจกรรมที่ชอบและประทับใจในสนามเด็กเล่น คือ ฐานเรือสลัดลงมากที่สุด เนื่องจากการเล่นทําให้เด็กสนุก มีกิจกรรมให้เด็ก ๆ ทําหลายอย่างได้เรียนรู้หลายด้าน โดยปัญหาที่พบจากการใช้งาน “สนามเด็กเล่นสร้างปัญญา” ของชุมชนมากที่สุด พบว่าส่วนใหญ่แล้วประชาชนคิดว่าไม่มีปัญหา แต่ยังคงพบข้อคิดเห็นว่าอยู่ไกลบ้านเกินไป เดินทางไม่สะดวกและขาดการซ่อมบํารุงที่ต่อเนื่อง”