สุดเฉลิม ศัสตราพฤกษ์. (2561). การเปลี่ยนแปลงการกระทำทางสังคมจากทัศนะของเวเบอร์บนความท้าทายความสามารถในการบริหารเพื่อการพัฒนาความมั่นคงทางสังคม. วารสารปาริชาต, 31(2), 85-103. (TCI1)
ชื่อเรื่อง
การเปลี่ยนแปลงการกระทำทางสังคมจากทัศนะของเวเบอร์บนความท้าทายความสามารถในการบริหารเพื่อการพัฒนาความมั่นคงทางสังคม
ผู้เขียน
สุดเฉลิม ศัสตราพฤกษ์
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการกระทําทางสังคมตามทัศนะของเวเบอร์ 2) ศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการกระทําทางสังคมในสังคมออนไลน์ และ 3) เพื่อเสนอแนะระบบและกระบวนการในการรักษาความมั่นคงของสังคมเพื่อการดํารงอยู่ของมนุษย์อย่างยั่งยืนโดยใช้การวิจัยเชิงเอกสาร ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูล ปฐมภูมิและทุติยภูมิรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าผลรวมของ การกระทําทางสังคมของมนุษย์ตามทัศนะของเวเบอร์มีผลประโยชน์เป็นตัวกําหนด เป็นการตั้งใจกระทํา เป็นพฤติกรรมที่มีการให้ความหมายคือเหตุผลสําหรับผู้กระทํา และมีเป้าหมายชัดเจน ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงการกระทําทางสังคมในสังคมออนไลน์ พบว่าชุมชนออนไลน์หรือ “ชาวเน็ต” ไม่สามารถกําหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างชัดเจนแต่อาจจะส่งผลต่อความวุ่นวายทางสังคมได้และอาจกลับไปสู่ สภาวะต้องมนต์ขลังใหม่ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากประเพณีหรือความศรัทธาแต่เป็นความเพ้อฝันที่ขาดความรับผิดชอบต่อการกระทําทางสังคมใหม่ ทําให้มนุษย์ขาดเหตุผลจากการกระทําทางสังคมออนไลน์ในการพัฒนาความมั่นคงทางสังคมต้องปรับปรุงระบบ โครงสร้างทางสังคม ทั้งนี้สังคมสมัยใหม่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีเหตุผลและเท่าเทียมกัน