
ข่าวมกช

ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวขณิตชา ดอกเตย นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาฯชั้นปีที่ 3 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันกีฬาปันจักสีลัตชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประจำปี 2566
ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวขณิตชา ดอกเตย นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาฯชั้นปีที่ 3 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เหรียญเงิน ประเภทต่อสู้ น้ำหนัก 45-50การแข่งขันกีฬาปันจักสีลัตชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประจำปี 2566 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ระหว่างวันที่ 5-11 เมษายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง
ขอเชิญเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพด้านงานวิจัยและนวัตกรรม เรื่อง การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เพื่อสนับสนุนการทำงานวิจัยและนวัตกรรม
งานวิจัยและนวัตกรรมขอเรียนเชิญอาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพด้านงานวิจัยและนวัตกรรม เรื่อง การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เพื่อสนับสนุนการทำงานวิจัยและนวัตกรรม ณ ห้องคอมพิวเตอร์ ชั้น 4 อาคารวิทยบริการ ในวันที่ 23 มีนาคม 2566 เวลา 8.30 – 16.45 น.
ย้อนรำลึกหัวใจนักรบรุ่นก่อน กับศิลปะการต่อสู้กระบี่กระบองวิถีไทย “ท่าไม้รำกระบี่ 12 ท่า ที่เคลื่อนช้าแบบนี้ จะไปสู้อะไรกับใครทันครับครู”
“ท่าไม้รำกระบี่ 12 ท่า ที่เคลื่อนช้าแบบนี้ จะไปสู้อะไรกับใครทันครับครู”
เสียงจากนักศึกษาถามขึ้นหลังจากวิทยากรเล่าที่มาและสาธิตท่ารำกระบี่กระบองในงานฟื้นฟูศิลปะการต่อสู้กีฬาไทยกระบี่กระบอง คณะศิลปศาสตร์ เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2566 ซึ่งหลังจบกิจกรรมทำให้รู้ว่า การเตรียมกายใจให้พร้อมสำหรับรุก-รับยามต่อสู้ถือเป็นเคล็ดวิชาศิลปะไทยไว้ฝึกนักรบมาช้านาน โดยจะเน้นความช้าจากท่าไหว้ครูก่อนเพื่อรำลึกพระคุณของครูอันจะช่วยให้ใจสงบ แฝงไว้กับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ส่วนผลของการฝึกร่ายรำจะปรากฎตอนที่ใช้ในสนามรบหรือสนามแข่งที่ต้องบวกเพิ่มด้วยความเร็วและไหวพริบส่วนบุคคล โดยช่วงประกวดร่ายรำและต่อสู้ (กระบี่ 2 มือ) สร้างความตื่นเต้นและท้าทาย นอกจากนักศึกษาได้เข้าใจกติกาและเทคนิคต่าง ๆ การจัดโครงการฟื้นฟูและสืบสานศิลปะและวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านและกีฬาไทย ประจำปีการศึกษา 2565 ยังช่วยให้หลายคนได้รู้สึกว่าการฝึกเพียงไม่กี่ชั่วโมงที่เหนื่อยมากแล้วนั้น แต่ในอดีตนักรบที่คอยปกป้องแผ่นดินต้องแกว่งกระบี่เป็นร้อยเป็นพันครั้งนั้นหนักกว่าหลายเท่า ซึ่งการฟื้นฟูกิจกรรมเหล่านี้จึงช่วยให้เห็นคุณค่าความเป็นไทยที่คนรุ่นหลังได้สัมผัสและเข้าถึงหัวใจคนรุ่นก่อนได้เป็นอย่างดี