จารุวดี แก้วมา, วิภา จันทรวงค์, จารุเนตร ศรีโคกล่าม และกาญจนาถ อุดมสุข. (2565). การตระหนักรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสนับสนุนการจัดกิจกรรมด้านกีฬา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. ใน วิรัตน์ ปิ่นแก้ว (บ.ก.), วิจัยสร้าง Innovation and Technology เพื่อรองรับสังคมไทยสู่ยุค Digital World. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14. วันที่่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 (น.1901-1912). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ชื่อเรื่อง
การตระหนักรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสนับสนุนการจัดกิจกรรมด้านกีฬา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
ผู้เขียน
จารุวดี แก้วมา วิภา จันทรวงค์ จารุเนตร ศรีโคกล่าม และกาญจนาถ อุดมสุข
บทคัดย่อ
ปัจจุบันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดในการจัดแข่งขันกีฬาเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การจัดแข่งขันระดับท้องถิ่นไปจนถึงมหกรรมกีฬาระดับชาติ ซึ่งความเข้าใจเรื่องนี้มีความสำคัญโดยเฉพาะกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวงการกีฬาโดยตรง การวิจัยนี้มุ่งศึกษาการตระหนักรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสนับสนุนการจัดกิจกรรมด้านกีฬาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยสมมติฐาน 3 ข้อ คือ 1) การตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการจัดกิจกรรมด้านกีฬาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2) การตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสนับสนุนการจัดกิจกรรมด้านกีฬาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3) ทัศนคติด้านสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสนับสนุนการจัดกิจกรรมด้านกีฬาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้เครื่องมือการเก็บข้อมูล คือแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติใน 4 ภูมิภาค จาก 10 วิทยาเขต ทั้งเพศชาย และหญิง ในช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน 2563 โดยใช้ตัวแปรอิสระ คือ การตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และทัศนคติด้านสิ่งแวดล้อม ตัวแปรตามคือ พฤติกรรมการสนับสนุนการจัดกิจกรรมด้านกีฬาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลการวิจัยสรุปว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติส่วนใหญ่เห็นความสำคัญในปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม มีการตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ทัศนคติด้านสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมเกี่ยวกับการสนับสนุนการจัดกิจกรรมด้านกีฬาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก และมีความสัมพันธ์กันในทุกสมมุติฐาน และยังพบว่า นักศึกษามีทัศนคติที่ว่าการจัดกิจกรรมด้านกีฬาแบบปกติทั่วไปอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยต้องการช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยการจัดกิจกรรมกีฬาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมยังส่งผลต่อการตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ทัศนคติด้านสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการสนับสนุนการจัดกิจกรรมด้านกีฬาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ นักศึกษาในภาคเหนือจะตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมมากกว่าอีก 3 ภูมิภาคเนื่องจากอยู่ในพื้นที่ที่เกิดปัญหาหมอกควันบ่อยครั้ง โดยตนเองเคยได้ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมมาก่อน