ไวพจน์ จันทร์เสม และธนภัค ตรีสัตยกุล (2566). ผลของการฝึกกระโดดเชือกแบบแอนแอโรบิกที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะของนักกีฬาเทนนิสเยาวชน. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 11 (รูปแบบออนไลน์) เล่มที่ 1 (9 พฤษภาคม 2566, น. 280-293) กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและกายภาพ:สมาคมครูดนตรีประเทศไทย ร่วมกับสมาคมเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. “

ชื่อเรื่อง

ผลของการฝึกกระโดดเชือกแบบแอนแอโรบิกที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะของนักกีฬาเทนนิสเยาวชน

ผู้เขียน

ไวพจน์ จันทร์เสม และธนภัค ตรีสัตยกุล

บทคัดย่อ

กีฬาเทนนิสมีการใช้สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ ความเร็ว ความคล่องแคล่วว่องไว พลังกล้ามเนื้อ การทรงตัว การประสานสัมพันธ์ จําเป็นต้องมีวิธีการฝึกที่เฉพาะเจาะจง เพื่อให้ได้ผลที่ดี จึงมีวิธีการฝึกแบบแอนแอโรบิกทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบผลของการฝึกกระโดดเชือกแบบแอนแอโรบิกระยะสั้นและระยะยาวต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะของนักกีฬาเทนนิสเยาวชน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาเทนนิสเยาวชนที่มีอายุ 14-18 ปี วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยภายในกลุ่ม ก่อนการทดลอง หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 3 และหลังการ ทดลอง 6 สัปดาห์ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ํา (One-Way ANOVA with Repeated measures) ทดสอบความมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ กลุ่มการฝึกกระโดดเชือกแบบแอนแอโรบิกระ ยะสั้นและกลุ่มการฝึกกระโดดเชือกแบบแอนแอโรบิกระยะยาว มีสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับ ทักษะ ด้านความคล่องแคล่วว่องไว พลังกล้ามเนื้อแขน การประสานสัมพันธ์ และความสามารถใน การกระโดดเชือก แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มการฝึกกระโดดเชือกแบบแอนแอโรบิกระยะสั้น มีความคล่องแคล่วว่องไวและความสามารถใน การกระโดดเชือก แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มการฝึกกระโดดเชือก แบบแอนแอโรบิกระยะยาว มีความคล่องแคล่วว่องไว พลังกล้ามเนื้อขา การประสานสัมพันธ์ และ ความสามารถในการกระโดดเชือก แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05